การรักษาสายตาที่เกิดความผิดปกติ มีเทคนิคใดน่าสนใจบ้าง

การแก้ปัญหาสายตามีด้วยกันหลายวิธี ซึ่งวิธีที่นิยมกันมากที่สุดก็จะเป็นการทำเลสิก และ PRK เราไปทำความรู้จักกับ 2 เทคนิคการรักษาปัญหาสายตากันดีกว่าครับ

1. PRK (Photorefractive Keratectomy) คือ วิธีการรักษาภาวะสายตาผิดปกติโดยแสงเลเซอร์ วิธีหนึ่งเริ่มมีการใช้ตั้งแต่ทศวรรษที่ 80 และยังคงใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เป็นการใช้แสงเลเซอร์ที่คำนวณได้ไปปรับแต่ความโค้งของกระจกตาโดยตรง โดยไม่มีขั้นตอนการเปิดผิวกระจกตาเหมือนการทำเลสิค

2. เลสิก LASIK (Laser Assisted In Situ Keratomileusis) คือ วิธีการรักษาภาวะสายตาที่เกิดความผิดปกติโดยใช้แสงเลเซอร์เลสิคชนิดเดียวกันกับ PPK แต่มีความแตกต่างกันของ Technique และขั้นตอนการทำ ซึ่งทั้งวิธีทำเลสิกและ PRK นี้ มีข้อดีและข้อจำกัดในตัวเองจึงเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพตาและสายตาของแต่ละราย

ข้อดีของการรักษาด้วยการทำ PRK
1. ช่วยลดภาวะตาแห้ง และ เป็นทางเลือกของผู้ที่มีน้ำตาน้อย
2. เหมาะสำหรับเป็นทางเลือกผู้ที่มีปัญหากระจกตาบาง
3. ไม่มีปัญหาภาวะแทรกซ้อมจากขั้นตอนการแยกชั้นกระจกตา

ข้อดีของการรักษาด้วยเลสิค LASIK
1. เลสิกเหมาะสำหรับผู้ที่มีค่าสายตาสั้นน้อย ถึงสั้นมาก
2. ทำเลสิกใช้เวลาในการพักฟื้นน้อย
3. ทำเลสิคมีอาการเจ็บระคายเคืองน้อย

สิ่งที่ต้องปฏิบัติหลังจากทำเลสิก LASIK และ PRK
หลังทำการรักษาโดยเลสิคหรือ PRK เสร็จแพทย์จะใส่ฝาครอบตาไว้ตลอดคืนห้ามเปิดออกในคืนแรกของการรักษา ห้ามขยี้ตาจนกว่าจะพบแพทย์ในวันรุ่งขึ้นและท่านจะต้องใส่ฝาครอบตาทุกคืน เป็นเวลา 7 คืน เพื่อป้องกันการเกาและขยี้ตาตอนกลางคืนโดยไม่รู้ตัว ส่วนกลางวันท่านอาจสวมแว่นตาเพื่อป้องกันดวงตาจากแสงแดด ฝุ่นละออง และการถูกกระแทก

หลังการทำเลสิกหรือ PRK วันแรก แพทย์จะตรวจดูความเรียบร้อยของแผลและแนะนำวิธีการดูแล ดวงตาของท่าน
วันที่ 3 หรือ 4 ของการรักษาแพทย์จะนัดมาตรวจความเรียบร้อยของแผล เมื่อแผลหายสนิทดีแล้วแพทย์จะถอดคอนแทคเลนส์ออก (ในกรณีทำโดยวิธี PRK)

ที่ Laservision มีเทคนิคการแก้ปัญหาสายตาหลากหลายให้เลือกสรร ไม่ว่าจะเป็นวิธีการรักษาด้วย PRK ( Photokeratoplasty ) หรือ วิธีการรักษาด้วย เลสิกไร้ใบมีด (FemtoLASIK)

Leave a Reply

Your email address will not be published.